ธุรกิจห้างร้าน และองค์กรสมัยใหม่ในยุคไอทีแบบนี้ ย่อมมีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย ยิ่งองค์กรใหญ่ก็จะยิ่งเน้นพึ่งพาระบบโครงข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น การจัดวางเครื่อง Server หลักและย่อยในการรับ-ส่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะสิ่งนี้มีผลต่อการใช้งานและการดูแลรักษาในระดับองค์กร สิ่งที่จะมาช่วยการจัดระบบ – ระเบียบ มัดรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน นั่นก็คือ “ตู้แรค” (Rack Cabinet)
ทำความรู้จักกับตู้ Rack
ตู้แรค หรือ Rack Cabinet เป็นตู้ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ Network หรือ Server เช่น Server computer, Rack Server อุปกรณ์ในระบบเน็ตเวิร์กและด้านไอที รวมถึงจำพวกสายเคเบิลงานเดินระบบ ตู้ Rack เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ตัวช่วยจำเป็นอย่างหนึ่งที่อยู่คู่ชาว Network Engineer มาเสมอ เพราะการจัดวางอุปกรณ์เน็ตเวิร์กและการเดินระบบนั้นจะค่อนข้างยุ่งยากมากสิ่ง ด้วยวัสดุอุปกรณ์เสริมและจำเป็นหลายอย่าง งานระบบจึงพลอยซับซ้อนตามไปด้วย เจ้าตัวตู้ Rack นี้เองที่จะมาช่วยให้การจัดวางนั้นเป็นระบบระเบียบอย่างเห็นได้ชัด ทำให้คนทำงาน หรือวิศวกรจะสามารถทำงานกับระบบได้อย่างสะดวก และยังมีประโยชน์สำคัญที่สุด คือ สามารถจัดวางงานระบบเน็ตเวิร์กจำนวนมาก ๆ ได้เป็นอย่างดีในพื้นที่จำกัด
3 ประเภทตู้ Rack
Wall Rack
ตู้แรคประเภทยึดผนัง เป็นตู้แรคชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกล่อง มีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 24 นิ้ว x 24 นิ้ว หรือเทียบได้กับ 60 ซม. X 60 ซม. ตู้ Wall Rack จะมีชนิดแยกย่อยออกไปอีก 3 แบบ ได้แก่
Wall Rack : Rack ยึดผนังทั่วไป จะมีลักษณะเป็นตู้มีหน้าต่างเปิด-ปิด ไม่มีรูระบายความร้อน จึงเหมาะกับอุปกรณ์ที่ไม่ร้อนง่าย ไม่ต้องอาศัยระบบระบายความร้อนมากนัก
Front Perforated Wall Rack : ตู้ Rack แบบยึดผนังที่มีช่องระบายเล็กน้อยด้านหน้า เหมาะกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่มีความร้อนและต้องการระบายความร้อนระดับหนึ่ง
All Perforated Wall Rack : เป็นตู้ Rack แบบยึดผนังที่มีช่องหรือรูระบาย 2 ทาง ทั้งด้านหน้าและหลัง มีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดีที่สุด จึงเหมาะกับอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ใหญ่ ระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องการการระบายความร้อนสูง
Tower Rack
Tower Rack หรือตู้ Rack แบบตั้งพื้น จะเป็นตู้ Rack ที่มีขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง ทนทานสูง จึงเหมาะกับระบบเน็ตเวิร์กที่เป็นตัวหลักของบริษัทใหญ่ ๆ หรือสำหรับรองรับเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ๆ ปัจจุบันมีขนาดให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ 15U ไปจนถึง 45U ซึ่ง U = Unit Rack เป็นหน่วยวัดขนาดของ Tower Rack โดยที่ 1U เทียบเท่าได้กับขนาด 1.778 นิ้ว หรือ 44.45 เซนติเมตร ทั้งนี้ Tower Rack สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ได้แก่
Tower Rack : แบบปกติ รองรับอุปกรณ์ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดเล็ก ระบายความร้อนได้น้อย
Server Rack : รองรับอุปกรณ์และระบบเน็ตเวิร์กประมาณหนึ่ง สามารถจุเครื่องสำรองไฟฟ้าขนาดกลางได้ แต่มีการระบายความร้อนปานกลาง
Data Center Rack : รองรับอุปกรณ์และระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ระบายความร้อนได้ดีที่สุด เหมาะกับห้องเน็ตเวิร์กหลักขององค์กร จุเครื่องสำรองไฟขนาดใหญ่ได้
Network Rack
Network Rack หรือ Open Rack เป็นตู้ Rack ลักษณะเปิดโล่ง ไม่มีหน้าต่างปิด จะมีเพียงโครงสร้าง Rack สำหรับติดตั้งและจัดวางระบบเน็ตเวิร์กหรือเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เนื่องจาก Open Rack เป็นแบบเปิด จึงมีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดี ประหยัดพื้นที่ใช้สอยได้ยอดเยี่ยม แต่ในทางกลับกัน Open Rack จะรองรับการจัดวางแบบซ้อนได้น้อยลง เพราะน้ำหนักเบา โครงสร้างจึงรับน้ำหนักอุปกรณ์ได้จำนวนไม่มากนัก และที่สำคัญ Open Rack จะป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหายได้น้อยกว่า กันฝุ่นละออง น้ำ หรือสัตว์แมลงไม่ได้ เหมาะกับพื้นที่ปิดที่สะอาดและปลอดภัยต่อสิ่งรบกวน
ประโยชน์ดี ๆ ของตู้ Rack ที่หลายคนอาจยังไม่รู้
ประหยัดพื้นที่ใช้สอย
เนื่องจากตู้ Rack มีลักษณะเป็นตู้ที่จัดวางแบบติดผนังก็ได้หรือตั้งพื้นเป็น Tower ต่อกันในลักษณะทรงสูงก็ได้ เราจึงสามารถจัดวางระบบ วาง Rack Server หลายตัวในคราวเดียวหรือติดตั้งอุปกรณ์เน็ตเวิร์กหลายอย่างในตู้ Rack เดียวกันก็ย่อมได้ วิธีจัดเก็บจัดวางแบบนี้จะช่วยเซฟพื้นที่ใช้สอยได้อย่างมหาศาล
ช่วยจัดระเบียบห้อง
งานระบบเน็ตเวิร์กหรือเซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ย่อมมีการเดินระบบภายในที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะการต่อสายเคเบิล พ่วงปลั๊กไฟและการเชื่อมต่อไปมาระหว่างอุปกรณ์ หากจัดวางองค์ประกอบเหล่านี้ไม่ดี พื้นที่ก็จะดูยุ่งเหยิงอย่างขีดสุด ตู้ Rack จะช่วยจัดวางระบบที่ซับซ้อนนี้ให้อยู่ในแนวเดียวกันเป็นหมวดหมู่ จัดระเบียบสายเคเบิลและการเชื่อมต่อให้ดูสบายตาและน่าใช้งานมากขึ้น ห้องทำงานก็จะดูเรียบร้อยตามไปด้วย
ระบายความร้อน
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลายตัวที่มีการทำงานนาน ๆ หรือทำงานอยู่ตลอดเวลา ย่อมมีการถ่ายโอนความร้อนออกมาเรื่อย ๆ ยิ่งใช้งานหนักก็ยิ่งเกิดความร้อนสูง ตู้ Rack บางประเภทถูกออกแบบมาให้สามารถช่วยระบายความร้อนของอุปกรณ์เหล่านี้ได้ เป็นการช่วยป้องกันและรักษาอุปกรณ์ไม่ให้เกิดความเสียหายได้อีกทางนั่นเอง
ปกป้องเครื่อง Server
นอกเหนือจากความเป็นระบบระเบียบของการจัดเก็บแล้ว ตัวตู้ Rack ยังมีส่วนช่วยปกป้องเครื่อง Server และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กสำคัญ จากฝุ่นละออง น้ำ จากสัตว์แมลงที่อาจเป็นตัวการทำลายระบบหรือเซิร์ฟเวอร์ได้ แถมยังช่วยดูแลและยืดอายุการใช้งานให้กับระบบเน็ตเวิร์กและเซิร์ฟเวอร์ได้อีกด้วย
5 วิธีเลือกตู้ Rack ให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
ดูขนาดของพื้นที่
หากพื้นที่ใช้สอยที่เตรียมไว้สำหรับจัดวางระบบนั้นกว้างขวางและมีที่เพียงพอ ก็สามารถเลือกใช้ตู้ Rack ขนาดกลางถึงใหญ่ แบบชนิดวางพื้น อย่าง Tower Rack หรือ Open Rack ได้ แต่หากพื้นที่จำกัดมาก ๆ ไม่สามารถวางตั้งกับพื้นได้ ดังนั้น ตู้ Rack แบบยึดผนัง “Wall Rack” จะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์กว่ามาก
คำนวณหาขนาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะใส่เข้าไปในตู้ Rack
นอกเหนือจากขนาดพื้นที่ใช้สอย เราจำเป็นต้องคำนึงว่า “มีอุปกรณ์สำคัญอะไรบ้าง?” ที่เตรียมจะจัดวางลงไปในตู้ Rack หากมีอุปกรณ์จำนวนมาก ระบบเยอะ ก็ควรมองหาตู้ Rack ขนาดกลางถึงใหญ่แบบตั้งพื้น เพื่อรองรับน้ำหนักและจำนวนอุปกรณ์ที่มาก และจำเป็นต้องรู้ขนาดของอุปกรณ์ ความกว้าง ความสูง และความลึก เพราะจะต้องกะขนาดเผื่อเหลือรอบ ๆ อุปกรณ์สำหรับช่องระบายความร้อนและการจัดระบบอื่น ๆ ภายในตู้ Rack
จำนวนปลั๊กไฟ
ปลั๊กไฟ หรือ Power Outlet เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบเน็ตเวิร์กที่จะวางลงในตู้ Rack เราจึงจำเป็นต้องรู้จำนวนปลั๊กไฟที่จะใช้จากอุปกรณ์ในตู้ เช่น จากสวิตช์ พัดลม หรือจาก Media Converter เป็นต้น เพื่อให้รู้ถึงขนาดรางไฟที่เหมาะสมว่าควรใช้กี่ Outlets
ถาดรองรับอุปกรณ์ (Fixed Shelf)
หลายครั้ง อุปกรณ์ในงานระบบเน็ตเวิร์กหรือเซิร์ฟเวอร์ จะไม่สามารถยึดติดเข้ากับตู้ Rack ได้ เนื่องด้วยอาจมีขนาดเล็กเกินไป เช่น สวิตช์ หรือ เราเตอร์ จึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ถอดรองแบบ Fixed Shelf เพื่อเป็นวัสดุจัดวางอุปกรณ์เหล่านั้นให้เป็นระเบียบ
ถาดรองรับสำหรับวางคีย์บอร์ดแบบ Slide
งานระบบหลาย ๆ ครั้งมักจะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์หรือมอนิเตอร์เข้าไปไว้ในตู้ Rack ด้วย จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงวัสดุรองรับการใช้งานคีย์บอร์ด ฉะนั้นควรเลือกตู้ Rack ที่มีถาดรองสไลด์ (Slide Shelf) ที่สามารถดึงคีย์บอร์ดเข้า – ออก เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
เทรนด์ตู้แร็คยุคใหม่ มีระบบทำความเย็นในตัว หมดกังวลเรื่องฮีท!
ตู้ Rack ในปัจจุบัน นับว่าถูกวิวัฒนาการให้ล้ำสมัย และตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากรูปทรงโมเดิร์น จัดวางภายในห้องได้ง่าย ประโยชน์ใช้สอบแบบสุด ๆ แล้ว ตู้ Rack ยังล้ำไปอีกขั้นด้วยการเสริมระบบ Cooling หรือ ระบบทำความเย็นในตัวที่ไม่ใช่แค่พัดลมระบายอากาศธรรมดาทั่วไป แต่คือการมีแอร์ย่อม ๆ เอาไว้ให้ความเย็นแก่ระบบเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ไอทีด้านในเหมือนนั่งอยู่ในห้องแอร์ ทั้งนี้ ตู้แร็คแบบติดแอร์ในหลายรุ่นจะเป็นการใช้ cooling แบบ Fixed Speed ไม่ต้องมีท่อน้ำทิ้งหรือท่อเดินน้ำยา ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก ตู้แร็คติดแอร์แบบนี้ถือเป็นเทรนด์ตู้แร็คที่ได้รับความนิยมดีมาก เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันเครื่องมือและเซิร์ฟเวอร์จากอาการ Overheating แล้ว ก็ยังช่วยควบคุมอุณหภูมิให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมออีกด้วย ที่สำคัญ การเลือกใช้ตู้แร็คแบบติดแอร์ จะสามารถจัดวางในห้องหรือพื้นที่ที่ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างห้องเซิร์ฟเวอร์ติดแอร์ขึ้นใหม่ ถือเป็นการลดต้นทุนการสร้างห้องเซิร์ฟเวอร์ไปได้อีกทางด้วย
ตู้ Rack ในปัจจุบัน นับว่ามีตัวเลือกบนท้องตลาดที่หลากหลายพอสมควร แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถ custom ตู้ Rack ได้แบบพิเศษไม่เหมือนใคร เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งานและการจัดวางระบบเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเราโดยเฉพาะ GOLDENDUCK STEEL เป็นบริษัทผลิตชิ้นงานเหล็ก อะลูมิเนียมและสเตนเลส แบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการติดตั้งพร้อมใช้ GOLDENDUCK STEEL สามารถออกแบบตู้ Rack หรือ Electronic Box ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการแบบเฉพาะเจาะจง สามารถออกให้มีแบบช่องระบายความร้อนได้อย่างอิสระ ช่องเสียบต่อ Power Outlets ให้พอดีกับอุปกรณ์ที่ทางองค์กรต้องการจัดระเบียบได้ วัดไซซ์ให้พอดีแบบเป๊ะ ๆ ไม่ต้องกลัวขาดหรือเกิน มีตัวเลือกทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ที่สำคัญ สามารถเพิ่มการติดตั้งล็อกตู้ Rack ด้วยรหัสได้ ปกป้องอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ราคาแพงได้แบบ 2 ชั้น! พร้อมดีไซน์ที่เรียบง่ายและโมเดิร์นทันสมัย เรียกว่าที่นี่ เราสามารถ custom ได้หลากหลายรูปแบบตามบรีฟที่องค์กรต้องการ ผลิตตู้ Rack เพียงชิ้นเดียวที่จะตอบโจทย์การใช้งานให้เป๊ะปังที่สุด
Add a Comment